Highlight
เมื่อการทำงานประจำเพียงอย่างเดียว ไม่ตอบโจทย์กับคนรุ่นใหม่หรือสถานการณ์ของโลกอีกต่อไป ตั้งแต่การเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ โรคระบาดรุนแรง ทำให้เรารู้ว่า การมีงานประจำที่คิดว่ามั่นคง อาจไม่มั่นคงอีกต่อไป ทำให้ผู้คนเริ่มปรับตัวในการแสวงหาอาชีพอิสระ ถือเป็นการหารายได้เสริมที่ดี ใครหลาย ๆ คน จึงเริ่มหางานในรูปแบบฟรีแลนซ์ตามความสามารถที่ตนเองถนัด เพื่อความก้าวหน้าในการดำรงชีวิต แต่ถ้าหากคุณยังไม่รู้ว่า จะเริ่มเป็นฟรีแลนซ์ได้อย่างไร และจะทำอย่างไรให้กลายเป็นฟรีแลนซ์มืออาชีพ บทความนี้มีคำตอบค่ะ
สิ่งหนึ่งที่ใช้ในการดำรงชีวิต คงหนีไม่พ้นคำว่า รายได้ สิ่งที่เราจะได้รับเมื่อลงมือทำงาน ทั้งงานประจำและงานพาร์ตไทม์ ด้วยวิถีชีวิตเดิมของเราที่เห็นว่า รายได้จากงานประจำ ไม่ว่าจะเป็นการทำงานภายในหน่วยงานรัฐหรือเอกชนจะมอบความมั่นคงให้กับชีวิตได้ แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป ทำให้รู้ว่าการมีรายได้เพียงแค่ช่องทางเดียวนั้น เริ่มไม่พอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน จึงเป็นสิ่งที่ริเริ่มจุดประกายความคิดให้กับกลุ่มคนมากมายที่ต้องการแสวงหารายได้เสริมจากการทำงานในอาชีพอิสระอย่างฟรีแลนซ์
การทำงานฟรีแลนซ์คือ อาชีพรับจ้างอิสระที่เราสามารถรับงานได้ด้วยตัวเองผ่านการติดต่อจากนายจ้างในหลายอุตสาหกรรมธุรกิจ การจ้างงานสามารถแบ่งได้หลายหมวดหมู่ เช่น ด้านการออกแบบ ด้านการตลาด ด้านการเป็นที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ด้านการสอน ด้านการแปลภาษา ด้านการค้า และอีกมากมาย ซึ่งเราจะต้องเลือกหารายได้เสริมจากอาชีพอิสระที่เหมาะสมกับทักษะความสามารถของเรา หรือ ตามความชอบ ความถนัดของเราเอง
หากคุณต้องการรายได้เสริมนอกเหนือจากงานประจำ สนใจอยากทำงานฟรีแลนซ์ แต่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำงานฟรีแลนซ์มาก่อน 4LifelongLearning รวบรวมขั้นตอนในการเริ่มต้นหารายได้เสริมจากงานฟรีแลนซ์ไว้ให้คุณแบบสั้น กระชับด้วย 6 steps ต่อไปนี้
อยากเป็นฟรีแลนซ์ แค่ลงมือทำ 6 Steps นี้ 1. ค้นหาทักษะความสามารถของตนเอง
2. ศึกษาข้อมูลการรับฟรีแลนซ์ที่เหมาะกับทักษะความสามารถของตนเอง
3. เตรียมเครื่องมือให้พร้อมกับงานฟรีแลนซ์
4. สร้าง Portfolio ที่โดดเด่น สะดุดตาลูกค้า
5. เขียนข้อตกลงในการรับฟรีแลนซ์และรายละเอียดค่าตอบแทนให้ชัดเจน
6. เผยแพร่ Portfolio สู่แหล่งรับงานที่ตรงจุด
1. ค้นหาทักษะความสามารถของตนเอง สิ่งแรกที่คุณควรลงมือทำ เมื่ออยากมีอาชีพอิสระก็คือ การรู้จักความถนัด ความชอบ ความสนใจ และทักษะความสามารถของตนเอง คุณจะต้องเขียนความสามารถของตัวเองทั้งหมดลงบนกระดาษหรืออุปกรณ์ที่คุณมี ยกตัวอย่างความถนัด เช่น ทักษะความสามารถทางด้านงานศิลปะ ด้านการสอนหรือการเทรนด์ ด้านการแปลภาษา ด้านการประดิษฐ์ ด้านการค้าขาย และอื่น ๆ เมื่อคุณเขียนทักษะความสามารถออกมาแล้วให้ลองคิดดูว่าทักษะความสามารถอะไรบ้างที่สามารถรับงานฟรีแลนซ์ได้ หากคุณยังไม่แน่ใจว่า คุณมีทักษะความสามารถนั้นจริงหรือไม่ สามารถมองหาแบบทดสอบทางออนไลน์เพื่อวัดระดับความสามารถของตนเองได้ อย่างแพลตฟอร์ม 4LifelongLearning เรามีหลักสูตรที่หลากหลายให้คุณเลือกพิสูจน์ความสามารถของตนเองเพื่อเพิ่มความมั่นใจได้ว่า ตนเองมีทักษะความสามารถด้านนี้จริง สิ่งนี้ จะช่วยหางานฟรีแลนซ์ที่ใช่และตอบโจทย์กับคุณด้วย
2. ศึกษาข้อมูลการรับฟรีแลนซ์ที่เหมาะกับทักษะความสามารถของตนเอง เมื่อคุณจดรายการทักษะความสามารถของตนเองแล้ว ในขั้นตอนนี้ คุณจะเริ่มการค้นคว้าหาความรู้เพื่อศึกษาข้อมูลตำแหน่งงานฟรีแลนซ์ที่ตรงกับทักษะความสามารถที่คุณมี ซึ่งแหล่งในการหาข้อมูลงานฟรีแลนซ์ที่กำลังฮิตติดอันดับ แน่นอนว่าจะต้องเป็นการค้นคว้าบนโลกอินเทอร์เน็ต ทั้งการค้นหาผ่าน Google, social media, และ platform ต่าง ๆ รวมทั้งสามารถสอบถามข้อมูลงานฟรีแลนซ์ได้จาก connection ที่คุณมี ไม่ว่าจะเป็นจากเพื่อน ครอบครัว เพื่อนร่วมงาน และบุคคลที่สามที่คุณรู้จัก จากนั้นนำข้อมูลงานฟรีแลนซ์ที่เก็บรวบรวมไว้ทั้งหมดมาจับคู่กับทักษะความสามารถของตนเองเพื่อเลือกงานฟรีแลนซ์ให้เหมาะสมและได้ผลตอบแทนตามคาดหวังไว้ เช่น หากคุณมีทักษะความสามารถด้านภาษา และเลือกศึกษาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ จนได้ข้อมูลงานฟรีแลนซ์เกี่ยวกับภาษา ทั้งการรับฟรีแลนซ์เป็นนักแปล นักสร้างคอนเทนต์ภาษาต่างประเทศ ติวเตอร์สอนภาษา และอื่น ๆ คุณก็จะรู้แล้วว่าคุณเหมาะสมกับการทำอาชีพอิสระอะไรบ้างเพื่อสร้างรายได้เสริมให้กับคุณเอง
3. เตรียมเครื่องมือให้พร้อมกับงานฟรีแลนซ์ หลังจากที่คุณเลือกอาชีพเสริมที่จะรับฟรีแลนซ์ได้แล้ว เรามาเริ่มเตรียมตัวให้พร้อมกับการรับงานฟรีแลนซ์กันค่ะ ซึ่งจะมี 2 รูปแบบ ดังนี้
3.1 การเตรียมเครื่องมือเพื่อหางานฟรีแลนซ์ ก่อนที่คุณจะลงมือทำงานฟรีแลนซ์ คุณจะต้องมีเครื่องมือสำหรับการโปรโมตตัวเองและข้อมูลการติดต่อเพื่อให้ลูกค้าสะดวกสบายในการจ้างงานฟรีแลนซ์กับคุณเสียก่อน นั่นก็คือ การสร้าง Portfolio เพื่อเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวคุณและการทำงานของคุณ ซึ่งวิธีการสร้าง Portfolio รับงานฟรีแลนซ์ คุณสามารถออกแบบได้หลายรูปแบบทั้งการสร้างเป็นเว็บไซต์ โปสเตอร์ หรือทำเป็นนิตยสารออนไลน์ และอื่น ๆ รวมทั้งคุณจะต้องสร้างตัวตนในเว็บไซต์หรือแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อฝากประวัติและผลงาน โดยการลงทะเบียนเป็นสมาชิกรับงานฟรีแลนซ์ เพียงเท่านี้ คุณก็จะมีเครื่องมือในการนำไปหางานฟรีแลนซ์ที่คุณต้องการได้เรียบร้อย
3.2 การเตรียมเครื่องมือในการทำงานฟรีแลนซ์ คือ การลิสต์รายการของเครื่องมือที่จำเป็นต่อการรับอาชีพเสริมที่คุณกำลังจะดิลกับลูกค้า เช่น หากคุณกำลังจะรับฟรีแลนซ์สอนพิเศษ คุณจะต้องมีเอกสาร อุปกรณ์เครื่องเขียน กระดาน หรือหากคุณสอนออนไลน์ คุณจะต้องเตรียมลิงก์ในการสอน เป็นต้น หากนึกไม่ออกหรือกลัวจะตกหล่นเครื่องมือในส่วนไหน ให้คุณลองใช้วิธีสร้างสถานการณ์สมมติในการรับงานฟรีแลนซ์ เพื่อดูว่าในแต่ละขั้นตอน จะประกอบไปด้วยเครื่องมืออะไรบ้างเพื่อจัดสรรให้พร้อมรับมือกับปริมาณงานฟรีแลนซ์ที่คุณจะลงมือทำ สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้คุณสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ หมดกังวลกับปัญหา เครื่องมือไม่ครบถ้วนทำให้การทำงานติดขัด เมื่อคุณมีการเตรียมตัวที่ดี จะช่วยเสริมลุคให้คุณดูเป็นมืออาชีพและผู้เชี่ยวชาญในการทำงานฟรีแลนซ์ด้วย
4. สร้าง Portfolio ที่โดดเด่น สะดุดตาลูกค้า ผลงานถือเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยยืนยันทักษะความสามารถที่คุณมี ผลงานจะช่วยทำให้ลูกค้าเห็นว่า หากจ้างงานคุณ ลูกค้าจะได้รับความคุ้มค่าและงานที่มีคุณภาพมากเพียงใด ดังนั้น หากคุณสามารถรวบรวมผลงานได้มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งดี และนำผลงานเหล่านั้น มาเรียบเรียงให้สวยงามบน Portfolio แต่ถ้าคุณยังไม่มีผลงานเพื่อรับฟรีแลนซ์ คุณสามารถสร้างผลงานเองได้ โดยการเข้าสู่ระบบ Micro - Credential จากแพลตฟอร์ม 4LifelongLearning ที่จะเป็นอีกเครื่องมือช่วยพิสูจน์ความสามารถในการทำงานให้คุณได้อย่างแม่นยำและถูกต้อง หากคุณสามารถแสดงทักษะความสามารถได้ผ่านเกณฑ์กำหนด คุณจะได้รับ Digital Badge เป็นใบเบิกทางสู่การรับงานฟรีแลนซ์ เพราะสามารถนำเก็บเข้า Portfolio ของคุณ เพิ่มความโดดเด่น สะดุดตาต่อลูกค้าให้เกิดความสนใจในการจ้างงานฟรีแลนซ์คุณได้
ซึ่งการออกแบบ Portfolio ให้ดึงดูดใจลูกค้า จะต้องเลือกธีมให้เข้ากับประเภทงานที่คุณจะรับทำฟรีแลนซ์เพื่อสร้างการจดจำให้กับลูกค้า แต่ถ้าหากคุณยังไม่มีไอเดียในการออกแบบก็สามารถเลือกสรรจากแพลตฟอร์มต่าง ๆ มาต่อยอดการทำ Portfolio ในแบบของคุณได้ โดยสิ่งสำคัญในการทำ Portfolio ให้มีคุณภาพคือ การเล่า Story telling ภายในให้อ่านง่าย จัดลำดับความสำคัญของข้อมูลที่จะนำเสนอและควรมีข้อมูลสำหรับการติดต่อจ้างงานในกรณีที่ลูกค้าเกิดความสนใจจ้างงานคุณ จะสามารถติดต่อกลับได้สะดวก
5. เขียนข้อตกลงในการรับฟรีแลนซ์และรายละเอียดค่าตอบแทนให้ชัดเจน สิ่งแรกก่อนเริ่มเขียนข้อตกลงในการทำงาน รวมถึงค่าตอบแทนในการรับงานฟรีแลนซ์ คุณจะต้องสำรวจค่าตอบแทนและข้อตกลงการจ้างงานของฟรีแลนซ์คนอื่น ๆ เพื่อวิเคราะห์ราคากลางที่ตลาดยอมรับและจะต้องเป็นอัตราค่าตอบแทนที่สามารถเพิ่มรายได้เสริมให้กับคุณ และเพียงพอต่อการรับงานฟรีแลนซ์นั้น ๆ ด้วย เมื่อคุณตรวจสอบราคาตลาดหรือบริการต่าง ๆ ที่ฟรีแลนซ์ในสายงานของคุณจะมอบให้กับลูกค้าและเงื่อนไขแล้ว ก็จะช่วยให้คุณสามารถวางแผนเขียนข้อตกลงในการรับงานฟรีแลนซ์ได้ง่ายขึ้น โดยคุณจะสามารถมอบบริการที่แตกต่างจากคู่แข่งในตลาดได้ด้วย และไม่ต้องกังวลกับการตั้งค่าตอบแทนที่สูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่ของการจ้างงานฟรีแลนซ์ หากค่าตอบแทนตั้งไว้มีความเหมาะสมกับคุณภาพของงานที่ลูกค้าจะได้รับ พวกเขาก็ยินดีจ่ายให้คุณเสมอ
6. เผยแพร่ Portfolio สู่แหล่งรับงานที่ตรงจุด ขั้นตอนสุดท้ายที่จะช่วยให้คุณได้รับงานฟรีแลนซ์จากลูกค้า ก็คือ การเผยแพร่ Portfolio และผลงานของตัวเองให้ตรงกลุ่มเป้าหมายที่มีความต้องการผลงานหรือชิ้นงานจากทักษะความสามารถของคุณ นั่นหมายถึงหากคุณต้องการรับงานฟรีแลนซ์ในสายงานใด ให้ส่งผลงานหรือสมัครสมาชิกเข้าไปในช่องทางที่มีงานฟรีแลนซ์นั้น เช่น หากคุณกำลังหาอาชีพเสริมทางการตลาดหรืองานครีเอทีฟ คุณสามารถหางานฟรีแลนซ์ได้จากเว็บไซต์ Fastwork เป็นต้น ซึ่งหากคุณเพิ่งเริ่มต้นการเป็นฟรีแลนซ์มือใหม่ สิ่งที่อยากจะแนะนำ คือ ให้คุณเลือกช่องทางในการหางานฟรีแลนซ์ที่มีการแข่งขันในตลาดน้อยก่อน เพื่อเพิ่มโอกาสในการรับงานให้คุณเติบโตในเส้นทางนี้ได้ไม่ยาก รวมไปถึงโอกาสในการพบกับ connection ที่ดี ที่อาจจะเป็นส่วนช่วยให้คุณได้รับงานฟรีแลนซ์อีกมากมาย และเมื่อคุณมีประสบการณ์ที่เพิ่มขึ้น คุณจะสามารถโลดแล่นรับงานบนช่องทางที่ตลาดแข่งขันกันสูงเพื่อแสวงหาฐานลูกค้าที่เพิ่มขึ้นได้
เมื่อคุณมีประสบการณ์รับงานฟรีแลนซ์มาเป็นระยะหนึ่งแล้ว คุณอาจเริ่มสนใจรับงานฟรีแลนซ์ต่อไปในระยะยาว หรือบางคนอาจเลือกทำอาชีพอิสระแบบเต็มตัว แน่นอนว่ารายได้ตอบแทนในแต่ละเดือนอาจไม่เท่ากันสำหรับการรับงานฟรีแลนซ์ ที่ขึ้นอยู่กับจำนวนงานที่รับและจำนวนผู้ว่าจ้าง ดังนั้น หากคุณอยากมีรายได้เสริมจากการทำอาชีพอิสระนี้ จะต้องฝึกฝนให้ตัวเองมีความเก่งกาจในเรื่องการรับงานฟรีแลนซ์แบบมืออาชีพ จนกระทั่งสามารถสร้างความมั่นคงในชีวิตจากรายได้เสริมที่เข้ามาในกระเป๋า แต่ละเดือนของคุณได้ด้วย 8 เทคนิคต่อไปนี้
8 เทคนิคสร้างฟรีแลนซ์มืออาชีพ 1. พัฒนาทักษะความสามารถทางภาษา
2. อัปเดตผลงานอย่างสม่ำเสมอ
3. สร้างจุดเด่นและข้อแตกต่างจากฟรีแลนซ์คู่แข่ง
4. เพิ่ม Connection ในฐานลูกค้า
5. เสริมทักษะความสามารถในงานฟรีแลนซ์ที่ตนรับทำงาน
6. ผลิตผลงานให้เหนือความคาดหมายของลูกค้า
7. เน้นการบริการดีเลิศเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า
8. พัฒนาบุคลิกภาพที่ดีในการเป็นฟรีแลนซ์
1. พัฒนาทักษะความสามารถทางภาษา เมื่อคุณสามารถสื่อสารได้หลายภาษาเท่ากับว่าคุณกำลังเปิดโอกาสให้ตัวเองมีฐานลูกค้ารองรับจากทั่วโลก สิ่งนี้ จะทำให้คุณมีรายได้เสริมแบบไม่จำกัดเพียงเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง อีกทั้งทักษะความสามารถทางด้านภาษาอาจเป็นด่านแรกที่นำพาผลงานและชื่อเสียงการรับงานฟรีแลนซ์ของคุณไปไกลระดับโลกได้อย่างรวดเร็ว แถมเปรียบเสมือนการกระชับมิตรต่างแดน เพิ่ม connection ในการทำงานให้กับคุณได้
คุณอาจกำลังคิดว่า แล้วฉันจะเริ่มจากการฝึกภาษาอะไรดี ? โดยปกติทั่วไป หนึ่งในภาษาสากลที่ใช้กันทั่วโลกก็คือ ภาษาอังกฤษ ดังนั้น คุณสามารถฝึกฝนทักษะความสามารถด้านภาษาอังกฤษให้แม่นยำ แล้วค่อย ๆ พัฒนาสู่ภาษาอื่นได้ เช่น ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส และอีกมากมาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษา หากคุณรับงานฟรีแลนซ์สายเทคโนโลยี คุณอาจจะต้องเพิ่มความแม่นยำในการนำเสนองานด้านเทคโนโลยีภาษาอังกฤษเพื่อสามารถขายงานให้ลูกค้าซื้อได้ ซึ่งแพลตฟอร์ม 4LifelongLearning ของเรา มีคอร์สที่น่าสนใจอย่าง Giving an English Presentation in Tech-Related Contexts คอร์สนี้ จะช่วยฝึกทักษะในการนำเสนองานด้านเทคโนโลยีโดยเฉพาะ ภายในคอร์สจะมีการสมมติสถานการณ์จริงเพื่อให้คุณได้ฝึกฝนจนเกิดความชำนาญในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล จะเห็นได้ว่า หากคุณมีทักษะความสามารถด้านภาษาก็มีชัยไปกว่าครึ่ง สร้างคุณให้กลายเป็นฟรีแลนซ์แบบมืออาชีพ
2. อัปเดตผลงานอย่างสม่ำเสมอ อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า ผลงานเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการรับงานฟรีแลนซ์ เพราะจะช่วยการันตีคุณภาพงานที่ลูกค้าจะได้รับจากคุณ ดังนั้น หากคุณต้องการเพิ่มความมั่นใจในทักษะความสามารถของตัวเองให้กับลูกค้า ทำให้ลูกค้าหันมาจ้างงานคุณมากกว่าคู่แข่งในตลาด คุณจะต้องอัปเดตผลงานของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อให้เกิดเป็นนิสัยในการอัปเดตงาน สิ่งนี้จะทำให้ลูกค้าได้เห็นถึงความเคลื่อนไหวของคุณบนแพลตฟอร์มรับงานฟรีแลนซ์ตลอดเวลา อย่าทำให้ข้อมูลของคุณดูร้างหรือแห้งเหี่ยวไป เพราะการอัปเดตผลงานก็เหมือนการบอกให้กลุ่มลูกค้ารายใหม่ได้รู้ว่า เดิมทีคุณมีลูกค้ามากน้อยเพียงใด เปรียบเสมือนการรีวิวตัวเองผ่านผลงาน ช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจว่าจ้างฟรีแลนซ์แบบคุณได้ง่ายขึ้น นำพาให้คุณมีรายได้จากอาชีพเสริมนี้ไปอีกนาน
3. สร้างจุดเด่นและข้อแตกต่างจากฟรีแลนซ์คู่แข่ง อะไรที่ฟรีแลนซ์ในสายงานประเภทเดียวกันมีอยู่แล้ว ให้คุณมองหาสิ่งที่ยังไม่เคยมีมาก่อน เพิ่มเข้าไปเพื่อสร้างความแตกต่างจากฟรีแลนซ์คนอื่น ๆ เช่น หากในตลาดรับเขียนบทความ คนทำฟรีแลนซ์ส่วนใหญ่ที่อยู่ในตลาดนี้ จะมีทักษะความสามารถด้านการเขียนเท่านั้น แต่ถ้าหากคุณมีทักษะความสามารถในการสร้างกราฟิก สามารถสร้างงานเขียนบทความพร้อมรูปภาพได้ครบจบในคนเดียว สิ่งนี้ จะช่วยฉายแววสร้างจุดเด่นให้ลูกค้าเลือกจ้างงานฟรีแลนซ์กับคุณ เป็นต้น เมื่อคุณได้เป็นจุดที่น่าสนใจในตลาดฟรีแลนซ์แล้ว คุณจะสามารถดึงดูดใจของกลุ่มลูกค้าให้ตกลงจ้างงานฟรีแลนซ์คุณได้ วิธีนี้ จะสร้างฐานรายได้เสริมของคุณให้งอกเงยเป็นกอบเป็นกำอย่างแน่นอน
4. เพิ่ม Connection ในฐานลูกค้า Connection ที่ดี จะช่วยผลักดันคุณให้ได้รับงานฟรีแลนซ์เพิ่มขึ้น จากพลังของการบอกต่อ Connection ที่ดี จะนำทางคุณไปสู่ความเจริญก้าวหน้าในการรับงานฟรีแลนซ์ด้วยปริมาณงานและค่าตอบแทนที่สูงขึ้น ข้อแนะนำ 3 ข้อที่คุณควรทำเพื่อสร้าง Connection ที่ดี ก็คือ
4.1 คุณจะต้องมอบคุณค่าสูงสุดให้กับลูกค้า โดยการสร้างผลงานที่มีคุณภาพ ส่งผลงานตรงตามเวลาที่กำหนด และผลงานนั้นจะต้องเป็นที่น่าพึงพอใจต่อลูกค้า
4.2 การติดต่อกับลูกค้าเป็นช่วง ๆ หรือเป็นระยะ ๆ ไม่ให้ขาดการติดต่อ เพราะการติดต่อลูกค้า จะเป็นส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการว่าจ้างงานฟรีแลนซ์ของคุณเพิ่มขึ้นได้ในอนาคต ซึ่งการติดต่อลูกค้าแสนจะง่ายดาย เพียงแค่ขอช่องทางการติดต่อลูกค้าไว้ และเมื่อไหร่ที่คุณมีข้อมูลที่เห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อลูกค้าก็สามารถเลือกส่งต่อให้กับลูกค้าได้
4.3 การสร้างความสัมพันธ์อันดีต่อลูกค้า โดยจดจำรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ของลูกค้า ที่สุดท้ายแล้วจะมีมูลค่าทางจิตใจที่ยิ่งใหญ่ เช่น การจดจำวันเกิดของลูกค้า มีการส่งข้อความเพื่อแสดงความยินดี หรือสามารถจดจำกิจกรรมที่ลูกค้าชื่นชอบและชวนลูกค้าออกไปทำกิจกรรมร่วมกัน เป็นต้น
ทั้ง 3 ข้อนี้คล้ายกับการสร้างความภักดีในแบรนด์หรือสินค้า ซึ่งในบริบทของการทำงานฟรีแลนซ์ นั่นก็คือ การทำให้ลูกค้าเลือกว่าจ้างกับคุณไปตลอด โดยไม่เปลี่ยนใจไปหาฟรีแลนซ์คนอื่น ๆ นั่นเอง การเพิ่ม Connection ก็เหมือนการได้รับงานฟรีแลนซ์เพิ่มขึ้น ได้ฝึกฝน ได้ประสบการณ์นำทางคุณสู่การเป็นฟรีแลนซ์แบบมือโปร
5. เสริมทักษะความสามารถในงานฟรีแลนซ์ที่ตนรับทำงาน ถึงแม้ว่าคุณจะทำงานฟรีแลนซ์มาเป็นระยะเวลานานแล้ว ได้รับประสบการณ์และรู้เทคนิคในการรับงานฟรีแลนซ์อยู่แล้วก็ตาม แต่ต้องยอมรับว่า ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาเอื้อต่อการทำงานมากมาย ทำให้เกิดความรู้และทักษะความสามารถรูปแบบใหม่ ๆ ดังนั้น คุณควรเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าอบรม สัมมนา ทดลองใช้เครื่องมือต่าง ๆ หรือสามารถเลือกพัฒนาทักษะความสามารถผ่านแพลตฟอร์ม 4LifelongLearning ของเราได้ ยิ่งคุณพัฒนาทักษะความสามารถเท่าไหร่ คุณก็ยิ่งได้รับงานฟรีแลนซ์เพิ่มขึ้นเท่านั้น เพราะ เมื่อคุณมีทักษะความสามารถมากกว่าคนอื่น ๆ คุณก็สามารถแย่งส่วนแบ่งตลาดกลุ่มลูกค้ามากมายให้หันกลับมาจ้างงานคุณสร้างรายได้เสริมให้คุณอย่างไม่รู้จบกันเลยทีเดียว
6. ผลิตผลงานให้เหนือความคาดหมายของลูกค้า หากคุณเคยได้รับงานฟรีแลนซ์จากลูกค้ามาแล้วและอยากรักษาฐานลูกค้าให้พวกเขากลับมาจ้างงานฟรีแลนซ์กับคุณอีกครั้งในระยะยาว คุณจะต้องผลิตผลงานออกมาได้อย่างสมบูรณ์แบบเหนือความคาดหมายของลูกค้าเพื่อทำให้ลูกค้ารู้สึกได้ถึงความคุ้มค่าและความประทับใจจากการลงทุนจ้างงานฟรีแลนซ์คุณ เช่น ลูกค้าจ้างให้คุณช่วยแปลภาษาให้ 2 หน้า ซึ่งในการแปลภาษาของคุณนั้นได้ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า โดยการเรียบเรียงความหมายอย่างสวยงามแล้ว ลูกค้าไม่จำเป็นต้องเสียเวลาในการตีความใหม่จากการแปลของคุณ เป็นต้น ด้วยวิธีนี้ จะทำให้ชีวิตในฐานะการเป็นฟรีแลนซ์ของคุณมั่นคง นำไปสู่รายได้เสริมให้ยั่งยืนในระยะยาวด้วยเช่นกัน เพราะผลงานที่ดี มีคุณภาพ จะช่วยให้คุณสามารถเพิ่มค่าตอบแทนของตัวเองได้ไม่ยาก
7. เน้นการบริการดีเลิศเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า ไม่ว่าคุณจะทำอาชีพใดก็ตาม หากสิ่งนั้นคือ การซื้อขาย ทักษะความสามารถที่คุณควรจะมีก็คือ ใจที่รักการบริการ เพราะการบริการที่ดี จะกระตุ้นให้กลุ่มลูกค้าปลื้มใจและต้องการจ้างงานฟรีแลนซ์คุณไปเรื่อย ๆ แถมเป็นวิธีที่สามารถเพิ่ม connection ให้กับคุณได้ด้วย แน่นอนว่า การบริการที่ดี ไม่ใช่เพียงการให้โปรโมชันเท่านั้น แต่หมายถึง การนำเสนอความสะดวกสบาย ความพึงพอใจ ความภักดีต่อลูกค้าร่วมด้วย คุณจะต้องดูแลลูกค้าเหมือนดั่งดูแลเพื่อนฝูงเพื่อเป็นการซื้อใจให้ลูกค้ามีความต้องการจ้างงานฟรีแลนซ์คุณต่อไป ซึ่งในการให้บริการที่ดี คุณสามารถสร้างได้ตั้งแต่ก่อนการจ้างงาน จนกระทั่งจ้างงานเสร็จแล้ว โดยการเจรจาที่ดีกับลูกค้า รับฟังปัญหาและสามารถหาวิธีแก้ไขปัญหาในงานนั้น ๆ ได้ดี ให้เครดิตลูกค้าประจำ หากคุณเลือกรับงานฟรีแลนซ์อย่างจริงจัง ถ้ามีระบบ Customer Relationship Management (CRM ) เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริการลูกค้าก็จะช่วยให้คุณทำงานได้ง่ายขึ้น สามารถรักษาฐานลูกค้าเก่าและเพิ่มฐานลูกค้าใหม่ได้
8. พัฒนาบุคลิกภาพที่ดีในการเป็นฟรีแลนซ์ นอกจากทักษะความสามารถ เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่คุณมีเตรียมพร้อมสำหรับการรับงานฟรีแลนซ์ อีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ บุคลิกภาพที่ดี เพราะถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในการรับงานฟรีแลนซ์ด้วยเช่นกัน สมมติว่า มีคนที่ทำงานเก่ง แต่มักแสดงออกทางสีหน้าและท่าทางในเชิงที่ไม่ชวนเป็นมิตรด้วยอยู่ตลอดเวลา ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์ใด ๆ กับลูกค้า ถึงแม้ว่าในการรับงาน จะสามารถทำงานได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ และส่งงานเสร็จตรงต่อเวลาที่กำหนด กับอีกคนหนึ่งที่มีฝีมือและความรับผิดชอบในการทำงานเหมือนกันทุกอย่าง แตกต่างกันที่บุคลิกภาพที่พูดจาฉะฉาน ยิ้มแย้มแจ่มใส เป็นกันเอง มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้าเสมอ เปรียบเทียบแบบนี้ คุณคงเห็นภาพได้ไม่มากก็น้อยว่า ลูกค้าจะเลือกจ้างงานฟรีแลนซ์กับใคร ดังนั้น การพัฒนาบุคลิคภาพ จะช่วยเพิ่มโอกาสรับงานฟรีแลนซ์ให้กับคุณได้ ด้วยความมั่นใจ ความกล้าที่จะขายงานต่อลูกค้า ความขยัน อดทนในการทำงานเพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าทุกประการ แค่คุณมีบุคลิกที่เหมาะสม ก็สามารถช่วยเพิ่มรายได้เสริมให้กับคุณแบบง่าย ๆ ได้แล้ว
จบไปแล้วกับขั้นตอนที่จะช่วยฝึกให้คุณเป็นฟรีแลนซ์และเทคนิคที่จะสร้างให้คุณเป็นฟรีแลนซ์แบบมืออาชีพ จะเห็นได้ว่า ไม่มีขั้นตอนไหนเลยที่จะยากเกินกว่าความสามารถของคุณ หากคุณฝึกฝน ตั้งใจ และลงมือทำอย่างจริงจัง ผลลัพธ์ที่ได้จากการเลือกทำงานฟรีแลนซ์ย่อมเป็นไปในทิศทางที่ดีเสมอ เมื่อคุณรู้ว่าตลาดต้องการผู้ที่มีทักษะความสามารถในด้านใดและคุณสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าเหล่านั้นได้ คุณจะสามารถหารายได้เสริมจากการเป็นฟรีแลนซ์ได้อย่างดีเลิศมากยิ่งขึ้น
สรุป หารายได้เสริมจากงานฟรีแลนซ์ เริ่มต้นด้วย 6 step นี้คือ 1. ค้นหาทักษะความสามารถของตนเอง 2. ศึกษาข้อมูลการรับฟรีแลนซ์ที่เหมาะกับทักษะความสามารถของตนเอง 3. เตรียมเครื่องมือให้พร้อมกับงานฟรีแลนซ์ 4. สร้าง Portfolio ที่โดดเด่น สะดุดตาลูกค้า 5. เขียนข้อตกลงในการรับฟรีแลนซ์และรายละเอียดค่าตอบแทนให้ชัดเจน และ 6. เผยแพร่ Portfolio สู่แหล่งรับงานที่ตรงจุด เมื่อคุณลงมือทำครบ 6 step นี้ คุณสามารถทำอาชีพอิสระได้หลากหลายสร้างรายได้ให้กับคุณ
แต่ถ้าหากคุณต้องการยกระดับการทำงานฟรีแลนซ์ให้กลายเป็นมืออาชีพ แค่ลงมือทำ 8 เทคนิคต่อไปนี้ คือ 1. พัฒนาทักษะความสามารถทางภาษา 2. อัปเดตผลงานอย่างสม่ำเสมอ 3. สร้างจุดเด่นและข้อแตกต่างจากฟรีแลนซ์คู่แข่ง 4. เพิ่ม Connection ในฐานลูกค้า 5. เสริมทักษะความสามารถในงานฟรีแลนซ์ที่ตนรับทำงาน 6. ผลิตผลงานให้เหนือความคาดหมายของลูกค้า 7. เน้นการบริการดีเลิศเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า 8. พัฒนาบุคลิกภาพที่ดีในการเป็นฟรีแลนซ์ เมื่อคุณอ่านบทความนี้จบแล้ว นอกจากคุณจะได้เริ่มทำงานฟรีแลนซ์เป็น คุณยังสามารถพัฒนาทักษะการทำงานของคุณให้กลายเป็นฟรีแลนซ์แบบมืออาชีพที่มีคุณภาพได้