สำหรับ
การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (Continuous Learning) เป็นสิ่งสำคัญในทุกย่างก้าวของชีวิต การพัฒนาทักษะและความสามารถของคนให้พวกเขาพร้อมสำหรับการแก้ปัญหาในปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงของอนาคตเป็นเรื่องที่จำเป็นต่อสังคมในทุกระดับ ถ้าคุณพร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาศักยภาพที่จำเป็นต่อชีวิตและการทำงานของคนไทย เรารอคุณอยู่
เราเชื่อว่าการเรียนรู้อย่างมีความหมายไม่จำเป็นต้องใหญ่และซับซ้อน การลดขนาดการออกแบบการเรียนรู้ให้แคบและตรงจุดเป็นคำตอบ! มาจัดการกับปัญหาในโลกแห่งความเป็นจริง ดึงความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมของคุณออกมา แล้วมาช่วยโลกให้ดีขึ้นไปด้วยกัน พร้อมสัมผัสกับพลังอันน่าทึ่งของการแสดงความสามารถที่เฉพาะเจาะจงผ่าน Micro-Credentials ได้แล้ววันนี้
ขั้นตอนการวางแผน
ในการเริ่มต้นออกแบบ Micro-Credentials มีประเด็นที่ผู้ออกแบบควรคำนึงถึง ดังนี้
1. เลือก Competency ที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญ
2. Competency ที่เลือกควรมีประโยชน์และใช้ได้จริงในการทำงาน และเป็นความสามารถที่แคบและเฉพาะเจาะจง สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
3. Competency ที่เลือกควรสามารถวัดได้ด้วยการส่งหลักฐานเชิงประจักษ์ (Evidence-submission-based Assessment)
ขั้นตอนการพัฒนา
การออกแบบ Micro-Credentials ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก และ 7 องค์ประกอบย่อย ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับ Micro-Credentials (Basic information) ประกอบด้วย Title, Competency และ Key Method
ส่วนที่ 2 เนื้อหา (Content) ประกอบด้วย Method Component, Reference และ Learning Resource
ส่วนที่ 3 หลักฐานและเกณฑ์การประเมิน (Submission Guideline and Evaluation Criteria)
ขั้นตอนการขออนุมัติ
มหาวิทยาลัยจะดำเนินการรับรองคุณภาพของ Micro-Credentials ก่อนนำ Micro-Credentials ที่พัฒนาแล้วออกสู่สาธารณะในระบบ 4LifelongLearning โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. ผู้พัฒนา MC ออกแบบและกรอกรายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบตามเกณฑ์คุณภาพที่กำหนด โดยทำงานร่วมกับผู้สนับสนุนด้านการออกแบบ (Micro-Credential Designer Support)
2. คณะกรรมการฝ่ายวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ตรวจสอบความถูกต้องทางวิชาการ
3. คณะกรรมการฝ่ายวิชาการพิจารณาอนุมัติ Micro-Credentials หรือให้คำแนะนำไปยังผู้ออกแบบเพื่อปรับเนื้อหาให้ได้ตามเกณฑ์คุณภาพ
ขั้นตอนการเผยแพร่
ในการเตรียมนำ Micro-Credentials ขึ้นระบบ เราจะขอข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับการออกแบบ Digital Badges เช่น สี ตัวอย่าง รูปภาพ และแนวคิดสำหรับการออกแบบ Badges ที่สัมพันธ์กับหัวข้อของ Micro-Credentials
เมื่อออกแบบ Digital Badges และนำ Micro-Credentials ขึ้นระบบแล้ว ผู้ออกแบบจะได้รับแจ้งสถานะการนำขึ้นระบบ พร้อมให้ผู้ขอรับการรับรองมาพิสูจน์ความสามารถ ได้ที่ https://app.4lifelonglearning.org
Title, Competency,
Key Method
ชื่อ Micro-Credentials
ความสามารถ
วิธีการหรือหลักการ
Method Component,
Reference, Resource
รายละเอียด ลำดับและขั้นตอน
ของวิธีการพัฒนาความสามารถ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
แหล่งข้อมูลการเรียนรู้
Submission Guideline and
Evaluation Criteria
แนวทางการส่งหลักฐานและ
เกณฑ์การประเมินความสามารถ
คือ "ระบบรับรอง" ความสามารถแบบเฉพาะเจาะจงที่เปิดโอกาสให้คุณเข้ามาพิสูจน์ความสามารถผ่านหลักฐานและประสบการณ์การทํางานจริงของคุณ เหมาะสำหรับผู้ที่สามารถเรียนรู้ด้วยเองจากแหล่งอื่นๆ และต้องการพิสูจน์ความสามารถ โดยเมื่อผ่านเกณฑ์การประเมิน คุณจะได้รับ Digital Badge
คือ "ระบบพัฒนา" ความสามารถที่มีประสิทธิภาพที่ถูกออกแบบมาโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อการันตีการทำได้ทำเป็นให้คุณ Upskill หรือ Reskill อย่างมั่นใจว่าจะทำได้จริง เหมาะสำหรับผู้ที่ยังไม่พร้อมพิสูจน์ความสามารถผ่านระบบ Earn และต้องการพัฒนาทักษะที่ตรงจุด โดยปัจจุบันผู้เรียนที่ผ่านเกณฑ์ประเมินจะได้รับ Learning Outcome Certificate
Designer หมายถึง บุคคล / กลุ่มคน ที่เป็นผู้ออกแบบการรับรองความสามารถ
Earner หมายถึง บุคคลที่ต้องการขอรับรองความสามารถ
Learner หมายถึง บุคคลที่ต้องการพัฒนาความสามารถ
Issuer หมายถึง องค์กรที่ให้การรับรอง หรือ องค์กรที่ออก Digital Badge ซึ่งในที่นี้หมายถึง มหาวิทยาลัย
Sub-Issuer หมายถึง ผู้ให้การรับรองระดับคณะ / ภาควิชา (เน้นพิจารณาในเชิงเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความสามารถนั้นๆ)
Reviewer / Assessor หมายถึง ผู้ตรวจ / ประเมิน หลักฐานจากผู้ขอรับการรับรอง โดยทำหน้าที่ให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้และให้ Feedback / ข้อแนะนำในการปรับปรุงหลักฐาน
Evidence หมายถึง หลักฐานที่ผู้เรียนใช้แสดงเพื่อพิสูจน์ความสามารถที่มีของตนเอง
Submission Guideline หมายถึง แนวทางการส่งหลักฐานเพื่อขอรับการประเมิน
Evaluation Criteria หมายถึง เกณฑ์ / ข้อกำหนดในการประเมินหลักฐาน โดยอาจแบ่งเป็น ผ่าน / ไม่ผ่าน หรือ แบ่งเป็นระดับ (3-5 ระดับ) ก็ได้
Learning Resources หมายถึง ทรัพยากรการเรียนรู้
Learning Units (LU) หมายถึง หน่วยการเรียนรู้บน Learn Platform ที่ถูกสร้างหรือเลือกมาเพื่อสนับสนุนให้เกิดความสามารถแก่ผู้เรียนตามที่กำหนดไว้
Digital Badge หมายถึง สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับหลังผ่านการพิสูจน์ความสามารถด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น ชิ้นงาน Portfolio วิดีโอคลิป และอื่นๆ
Learning Outcome Certificate หมายถึง สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับหลังผ่านการเรียนรู้ที่มีการวัดประเมินผลตามผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้