Micro-Credentials คืออะไร? ทางรอดตลาดแรงงานในยุค Disruption

Table Contents 

  • Micro-Credentials คืออะไร?
  • ความแตกต่างระหว่าง Micro-Credentials กับ Online Course
  • ตัวอย่าง Micro-Credentials ในต่างประเทศ
  • ความสำคัญของ Micro-Credentials
  • Micro-Credentials เหมาะกับใครบ้าง?

          ในยุค Disruption หรือ Digital Disruption ที่เทคโนโลยีมีความก้าวหน้าสูง ส่งผลให้ทุกอย่างรอบตัวเราถูกกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ทั้งการใช้ชีวิต รูปแบบการดำเนินธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม ดังนั้นคนเราก็ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามความต้องการนั้นเช่นกัน ทักษะเดิมที่เราเคยมี อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดแรงงานอีกต่อไป

          หากต้องการอยู่รอดในตลาดแรงงานท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงนี้ ผู้คนจะต้อง Reskill และ Upskill อยู่เสมอ Micro-Credentials จึงเป็นคำตอบสำคัญ ที่จะช่วยให้คนปรับตัวได้ทันความต้องการตลาดแรงงาน แต่ Micro-Credentials คืออะไร? จะนำไปใช้อย่างไร? ในบทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกัน

Micro-Credentials คืออะไร?

          Micro-Credentials คือ ระบบรับรองความสามารถที่เฉพาะเจาะจง ผ่านการแสดงหลักฐานการทำงานจากความสามารถนั้นๆ เป็นเครื่องมือในการพิสูจน์การทำได้จริง ผู้ที่ผ่านการรับรองจะได้รับ Digital Badges ที่บันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการทำได้ เป็นหลักฐานยืนยัน

องค์ประกอบสำคัญของ Micro-Credentials
3 องค์ประกอบสำคัญของ Micro-Credentials

ความเฉพาะเจาะจง (Specific)

          ความเฉพาะเจาะจง เป็น 1 ใน 3 องค์ประกอบสำคัญของ Micro-Credentials จากองค์ความรู้หรือ Skill Set กลุ่มใหญ่ เราจะต้องย่อยขนาดลงและเจาะจงเฉพาะเรื่องให้มากขึ้น เพื่อให้สโคปการเรียนรู้น้อยลง

          โดยเราจะไม่ได้บอกเพียงแค่ว่า ทำอะไรได้ (What) แต่ต้องเจาะจงให้ชัดว่า ทำได้ด้วยวิธีใด (How)

          ดังนั้นเมื่อเรานำเอา What + How มาเป็นตัวกำหนด จะทำให้เจาะจงได้ว่าใน 1 ทักษะ ที่แตกต่างกันด้วยวิธีทำ ก็ทำให้เกิดเป็น Micro-Credentials ที่แตกต่างกันได้อีก

 Micro-Credentials มีความเฉพาะเจาะจง

ความรู้และทักษะ (Competency-Based)

          ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ Micro-Credentials สามารถเรียนรู้ได้ไว เพราะเป็นการตั้งเป้าหมายและวัดผลการเรียนรู้ที่สมรรถนะเป็นหลัก หรือพูดง่ายๆ ว่า “ทำได้และทำเป็น”  โดยไม่ยึดเอากรอบของเวลามาเป็นตัวกำหนด เราสามารถแบ่งระดับของการวัดผลการทำได้ (Levels of Competency) ออกเป็น 4 ระดับด้วยกันคือ

ความเข้าใจ > ได้ลองทำ > สามารถทำได้ > ทำเป็น
ระดับของสมรรถนะ level of competency

การพิสูจน์และการรับรอง (Verify)

          สุดท้ายแล้วการทำ Micro-Credentials ผู้เรียนจะต้องได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญว่าสามารถทำได้จริง และได้รับหลักฐานรับรองเป็น Digital Badge เป็นหลักฐานการพิสูจน์และรับรอง

          และที่ 4lifelonglearning เรามีหลักฐานการรับรองแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกัน ได้แก่ Digital Badge และ Digital Certificate โดยใช้ระดับการวัดผลทำได้ (Level of Competency) เป็นเกณฑ์

Digital Badge ในแต่ละระดับของสมรรถนะ level of competency

รับรองผ่านการเรียนรู้ (Academic Focused Micro-credentials)

          คือ การพัฒนาและรับรองความสามารถของผู้เรียนจากหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงความเข้าใจ การลองทำและฝึกฝน (ในขั้นนี้จะเน้นความเข้าใจเป็นหลัก) สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับหลังผ่านการประเมินคือ Digital Certificate

รับรองผ่านการทำงาน (Career-Specific Micro-credentials)

          คือ การพัฒนาและรับรองความสามารถของผู้เรียนจากการทำงาน เรียกง่ายๆ ว่าทำงานได้จริง ผ่านการส่งผลงานจากการทำงานจริงหรือหลักฐานแสดงความสามารถตามสถานการณ์ที่กำหนด สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับหลังผ่านการประเมินคือ Digital Badge

          เพื่อให้เห็นภาพง่ายขึ้น เรามาจำลองภาพการพิสูจน์ Micro-Credentials ผ่านสถานการณ์ของนาย A และนาย B ที่มีความสนใจ Micro Credentials เรื่องการพยากรณ์ยอดขายด้วย DATA กันค่ะ

Micro-Credentials กับความยืดหยุ่นของเวลา


          นาย A ไม่มีทักษะการพยากรณ์ยอดขายหรือการทำ Data มาก่อน จึงเริ่มต้นจากการเรียนรู้ (Learn) จนครบหลักสูตรทั้งหมด นำกลับไปฝึกฝน แล้วนำไปปรับใช้ในการทำงานจริง หลังจากนั้นก็นำหลักฐานการทำงานมาพิสูจน์ความสามารถเมื่อเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะได้รับ Digital Badges ในที่สุด

           ในขณะที่นาย B อาจจะมีพื้นฐานความเข้าใจการทำ Data มาแล้วในระดับหนึ่ง ทำให้สามารถเรียนรู้เนื้อหาเพียงบางส่วน ก็เข้าใจและนำไปปรับใช้ในการทำงานได้ทันที หลังจากนั้นก็นำหลักฐานการทำงานมาพิสูจน์ เมื่อผ่านฐานความสามารถก็จะได้รับ Digital Badges ไปเช่นกัน

“เฉพาะเจาะจงและพิสูจน์การทำได้จริง”

           จะเห็นได้ว่า ถึงแม้ทั้งคู่จะกำลังพัฒนาความสามารถทักษะเดียวกัน แต่ก็มีระยะเวลาในการพิสูจน์ความสามารถที่แตกต่างกัน เพราะ Micro-Credentials มีระยะเวลาการพัฒนาที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างทันท่วงที

ความแตกต่างระหว่าง Micro-Credentials กับ Online Course

           จากเรื่องเล่าด้านบนจะเห็นได้ว่า Micro-Credentials มีการเรียนรู้ในรูปแบบพื้นที่ออนไลน์ (MOOC) เหมือนกับคอร์สเรียนออนไลน์โดยทั่วไป โดยทั้งสองจะมีความแตกต่างกันที่ผลลัพท์หรือเป้าหมาย

ความแตกต่างระหว่าง Micro-Credentials กับ Online Course

Online Course

         การเรียนคอร์สออนไลน์เป็นการเรียนรู้ผ่าน Learning Resources เป็นหลัก ส่วนมากจะ Based on Content อาจจะมีหรือไม่มีการวัดผลก็ได้ หากมีก็จะเน้นการประเมินที่ความเข้าใจเนื้อหาเป็นหลัก แต่จะยังไปไม่ถึงในจุดที่วัดผลการทำได้จริงในความสามารถนั้นๆ

Micro-Credentials

         ในขณะที่ Micro-Credentials ในช่วงเริ่มต้นอาจจะมีการเรียนรู้ผ่าน Learning Resources คล้ายๆ กัน แต่เป้าหมายสุดท้าย คือ การพิสูจน์ทักษะ (Proof Skill) ว่าผู้เรียนทำได้จริง โดยเราสามารถให้ชุดข้อมูลกับผู้เรียนเพิ่มเติมได้ เพื่อให้เค้าไปสู่จุดที่สามารถทำได้จริง

ตัวอย่าง Micro-Credentials ในต่างประเทศ

         ถึงแม้ว่า Micro-Credentials จะเป็นเรื่อง แปลกใหม่และยังไม่เป็นที่รู้จักในประเทศไทย แต่ในระดับนานาชาติ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจกำลังให้ความสำคัญ และเร่งผลักดันเพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะที่ตอบโจทย์ และแก้ปัญหาขาดแรงงานหลังภาวะระบาด Post-Pandemic แต่จะมีเจ้าไหนบ้าง? เราจะไปทำความรู้จักกัน

IBM Credentials

         เป็น Micro-Credentials ที่พัฒนาขึ้นมาโดย IBM (International Business Machines) บริษัทผู้นำด้านเทคโนโลยี ที่มีเป้าหมายการผลักดันและสร้างแรงงานให้มีทักษะ IT จึงเปิดให้มีการพิสูจน์ Micro-Credentials ทักษะด้าน IT โดยเฉพาะ

         มีให้เลือกหลายทักษะไม่ว่าจะเป็น Data Analysis, AI, Cloud Support และ Cybersecurity เป็นต้น สำหรับใครที่สนใจสามารถเข้าไปดูได้ที่ IBM Credentials

IBM Credentials ตัวอย่าง Micro-Credentials ในต่างประเทศ

FutureLearn Micro-Credentials 

          อีกหนึ่งผู้ให้บริการ Micro-Credentials ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ ที่ Future Learn จะชูจุดเด่นตรงการพัฒนาความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาอาชีพกับมหาวิทยาลัยชั้นนำ นอกจากนี้ 1 Micro-Credentials ยังสามารถเก็บเครดิตไว้รับปริญญาทั้งโทและตรีในระดับมหาลัยได้อีกด้วย สนใจเข้าไปดูได้ที่ Futurelearn Microcredentials

Futurelearn Micro-Credentials ตัวอย่าง Micro-Credentials ในต่างประเทศ

Microsoft Credentials

          เป็น Micro-Credentials ที่ให้บริการโดย Microsoft บริษัทผู้ผลิตและพัฒนาซอฟต์แวร์รายใหญ่ของโลก ที่เปิดพื้นที่ให้คนเข้ามาพิสูจน์ทักษะด้าน Technical skills ไม่ว่าจะเป็นทักษะ AI, Cloud computing และ Emerging technologies (เทคโนโลยีโลยีเกิดใหม่) โดยมีจุดเด่นตรงที่ ผู้เรียนจะได้ทดสอบและลองทำจริงโปรเจคของ Microsoft โดยตรง สนใจเข้าไปดูได้ที่ Microsoft Credentials

Microsoft Credentials ตัวอย่าง Micro-Credentials ในต่างประเทศ

ข้อดีของ Micro-Credentials

ข้อดีของ Micro-Credentials

ตรงความต้องการตลาดแรงงาน (Job Market)

          จากแนวทางคิดหลักของ Micro-Credentials คือ การเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการทำงาน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมสำหรับงานและหน้าที่ใหม่ๆ ได้รวดเร็ว ดังนั้น Micro-Credentials จะมุ่งเน้นที่การสร้างทักษะที่ตอบโจทย์กับสาขางานและอุตสาหกรรมนั้นๆ ที่สุด เพื่อพัฒนาคนให้พร้อมเข้าสู่ตลาดงานได้ทันท่วงที

ตอบโจทย์การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

          Micro-Credentials ตอบโจทย์แนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในยุคสมัยที่ทุกอย่างมีความผันผวน คนเราจำเป็นต้องอัปเดตความรู้และทักษะให้ตามทันอยู่เสมอ ด้วยความเฉพาะเจาะจงของ Micro-Credentials จะทำให้เราสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและไว และยังไม่จำกัดความรู้เอาไว้แค่ในรั้วมหาวิทยาลัยอีกด้วย

มีความยืดหยุ่นในการเรียนรู้ (Flexible Time)

          เป็นอีกหนึ่งข้อได้เปรียบของ Micro-Credentials คือ ความยืดหยุ่น ด้วยความที่เป็นการเรียนรู้ผ่านออนไลน์และประยุกต์ใช้กับการทำงานจริง ทำให้สะดวกทั้งคนที่อยู่ในวัยเรียนและวัยทำงาน ที่สามารถแบ่งจัดสรรเวลาได้ตามความสะดวก นอกจากนี้ด้วยความที่เป็นการเรียนรู้แบบ Competency-Based เน้นการวัดผลที่การทำได้จริง ก็ทำให้สามารถจบหลักสูตรได้ไวเช่นกัน

ต่อยอดสะสม Micro-Credentials

          และในบางผู้ให้บริการ Micro-Credentials ก็ออกแบบให้สามารถสะสมเป็นหน่วยกิต เพื่อนำไปสู่คุณวุฒิที่ใหญ่กว่า อย่างปริญญาตรี/หรือโท ได้อีกด้วย ช่วยให้ผู้เรียนค่อยๆ เรียนรู้และต่อยอดทักษะจากเล็กไปใหญ่ได้ ตลอดจนรับรองความรู้และทักษะให้นำไปใช้งานและต่อยอดเลื่อนขั้นในสายงาน

Micro-Credentials เหมาะกับใครบ้าง?

Micro-Credentials เหมาะกับนักศึกษาจบใหม่และวัยทำงาน

นักเรียน/นักศึกษา

          การเรียนรู้ในรั้วมหาวิทยาลัย คือ การเรียนรู้ทักษะที่จำเป็นต่างๆ ในการประกอบวิชาชีพ แต่ทั้งนี้ในระยะเวลา 4 ปี ความต้องการของตลาดแรงงานก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ Micro-Credentials จึงเป็นตัวช่วยสำคัญ ที่จะช่วยเติมเต็มช่องว่างความสามารถ (Skill Gap) โดยการเรียนรู้และรับรองทักษะงานที่จำเป็นก่อนเรียนจบ เมื่อได้รับหลักฐานและนำไปแสดง ก็จะทำให้เห็นความพร้อมในการทำงานมากยิ่งขึ้น

คนวัยทำงาน

          เพื่อให้คนวัยทำงานสามารถปรับตัวอยู่ในตลาดแรงงานได้เสมอ Micro-Credentials จะเป็นตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยให้คนเราสามารถพัฒนาทักษะได้ไวพร้อมทำงานจริงๆ เป็นประโยชน์ทั้งคนที่ต้องการเพิ่มทักษะให้เพียงพอต่อการทำงาน หรือต่อยอดในสายงาน รวมไปถึงคนที่อยากเปลี่ยนสายงานแต่ไม่มีประสบการณ์ Micro-Credentials จะเป็นตัวช่วยบ่งชี้การทำได้ แม้จะไม่มีประสบการณ์นั้นๆ มาก่อน

          เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ก็จะเห็นได้ว่า Micro-Credentials เป็นเหมือนจิ๊กซอว์สำคัญที่จะช่วยเติมเต็ม Skill Gap ที่เกิดขึ้นระหว่างการศึกษากับตลาดงานในอนาคต ด้วยความเฉพาะเจาะจงและความยืดหยุ่น จะทำให้สามารถ Upskill และ Reskill ได้ทันความต้องการของตลาดแรงงานเปลี่ยนแปลงเร็วในยุค Disruption นั่นเอง

Key Takeaway 
  1. Micro-Credentials คือ หลักสูตรการเรียนรู้และรับรองระยะสั้น ที่ช่วยให้คุณพัฒนาทักษะทางวิชาชีพได้อย่างรวดเร็ว
  2. Micro-Credentials เป็นการเรียนรู้แบบ Competency-Based ที่มีจุดมุ่งหมาย คือ การทำได้จริง วัดผลการทำได้จากการพิสูจน์ความสามารถ
  3. เพื่อวัดผลการทำได้จริง ผู้เรียนจะต้องแสดงให้เห็น (demontrates) ผ่านหลักฐานการทำงาน และได้รับ Digital Badge หรือ Digital Certificate  เป็นตัวยืนยันความสามารถ
  4. ดังนั้น เมื่อวัดผลการทำได้จริงเป็นหลัก โดยไม่ใช้กรอบของเวลาเป็นตัวกำหนด ทำให้จบหลักสูตรได้ทันความต้องการตลาดแรงงานในยุค Disruption ที่เปลี่ยนแปลงไว

อ้างอิง

Tags

Share

บทความที่คุณอาจสนใจ

Knowledges and Trendsทำอย่างไรไม่ให้ตกงาน? 3 Checklist ช่วยให้คุณมีงานทำในอนาคต

หากคุณกำลังมองหาทางรอดในการทำงานของตนเองเพื่อไม่ต้องตกอยู่ในสภาวะตกงาน แค่ 3 Checklist ง่ายๆ มีครบ มีงานทำได้แน่ แค่ทำตามนี้ รับรองบริษัทต้องการตัวคุณ